Home

 

ยางรีเคลม[1] (Reclaim Rubber) หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์ยางที่วัลคาไนซ์แล้วมาผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งโดยการที่ทำให้โมเลกุลของยางที่มีการเชื่อมโยง แตกออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งสามารถนำไปผสมสารเคมีแล้วนำกลับมาวัลคาไนซ์ใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง

การทำยางรีเคลม มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

  1. Digester Process
  2. Heater Process หรือ Pan Process
  3. Reclaimtor Process

กระบวนการการทำยางรีเคลมที่มาจากยางธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารเคมี ใช้เพียงความร้อนเท่านั้น แต่ยางรีเคลมที่ทำมาจากยางสังเคราะห์จะต้องใช้ทั้งความร้อนและสารเคมีชนิดอื่น ๆ เช่นพลาสติไซเซอร์ ซึ่งจะช่วยให้โมเลกุลยางแยกออกจากกันได้ง่ายขึ้น, แทคคิไฟเออร์ (Tackifier) ช่วยในการแปรรูปหลังให้ความร้อนซึ่งทำให้ยางเหนียวและนุ่มขึ้น, และ reclaiming agent ช่วยในการดำเนินกระบวนการรีเคลมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

กระบวนการทำยางรีเคลมจะต้องผ่านการออกซิเดช้น ความร้อน และการล้าง ทำให้ยางปกติที่ผ่านการวัลคาไนซ์แล้วนำมาทำยางรีเคลมจะทนทานต่อการออกซิไดซ์ได้ดีขึ้น แต่สมบัติด้านความทนทานต่อการสึกหรอ, ความทนทานต่อแรงดึง, ระยะยืดเมื่อขาด และความกระเด้งตัวของยางไม่ดี

ยางที่ผ่านกระบวนการรีเคลมจะนำไปใช้งานในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, อุตสาหกรรมรองเท้า, อุตสาหกรรมเครื่องกลต่าง ๆ เป็นต้น

ที่มา : วิกิพีเดีย

Thai Rubber Sourcing Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่าย ยางรีเคลม ภายในประเทศไทย รับผลิตยางรีเคลมตามสเปคที่ต้องการ ใช้ผสมเป็นยางวัตถุดิบเพื่อผลิตชิ้นงานที่ทำจากยาง เช่น ยางในรถจักรยานยนต์ ยางล้อรถเข็น ยางรองขาโต๊ะเก้าอี้ โอริง สายพาน ท่อยาง พื้นรองเท้า และชิ้นงานอื่นๆ ที่ผลิตจากยาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามขั้นตอนและวิธีการนำเข้าและส่งออก การเดินพิธีการศุลกากรได้ที่
First-Class Logistics Co., Ltd.
pongsak@first-classlogistics.com
02-682-8502

ตรวจสอบราคายางพารา

โครงสร้างโมเลกุลของยางธรรมชาติ

ยางธรรมชาติมีชื่อทางเคมีคือ ซิส-1,4-พอลิไอโซพรีน (cis-1,4-polyisorene) เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนล้วน ทำให้มีสมบัติไม่ทนต่อน้ำมัน แต่เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี ใน 1 โมเลกุลจะประกอบด้วยหน่วยของไอโซพรีน (C5H8) มาต่อกันเป็นสายโซ่ยาวแบบเส้นตรงใน 1 หน่วยไอโซพรีนจะมีพันธะคู่และหมู่อัลฟาเมทธิลีนที่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา ทำให้สามารถวัลคาไนซ์ได้ด้วยกำมะถัน และทำให้ยางทำปฏิกิริยาได้ง่ายด้วยออกซิเจนและโอโซน ทำให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายเช่นเดียวกัน
อ่านต่อคลิ๊กที่นี่

Visitor Counter
004145
Visit Today : 1
Visit Yesterday : 1
This Month : 15
Total Visit : 4145
Total Hits : 10043
Who's Online : 1
--- www.thairubbersourcing.com Copyright © 2013 All Rights Reserved. ---

บริษัท ไทย รับเบอร์ ซอร์สซิ่ง จำกัด
247/17 สาธุประดิษฐ์ ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร.02-117-0235-6 แฟกซ์.02-678-7644

Home | Reclaim Rubber | Reclaim Rubber usage and trend | Natural Rubber | Product | Quality | Certificate | Contact us